เทคโนโลยีสารสนเทศ
ปัจจุบันนี้ เทคโนโลยีสารสนเทศมีบทบาทอย่างกว้างขวางในทุกวงการ และเทคโนโลยีสารสนเทศกลายเป็นเครื่องมือสำคัญของการทำงานทุกด้าน นับตั้งแต่ทางด้านการศึกษา พาณิชย-
กรรม เกษตรกรรม อุตสาหกรรม สาธารณสุข การวิจัยและพัฒนา ตลอดจนด้านการเมืองและราชการ อันที่จริงแล้วจะเห็นว่าไม่มีงานด้านใดที่ไม่มีผู้คิดประยุกต์หรือนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้าไปช่วยให้การทำงานนั้น ๆ มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลยิ่งขึ้น
ข้อมูลกับสารสนเทศ
ข้อมูล (Data) หมายถึง กลุ่มตัวอักขระที่เมื่อนำมารวมกันแล้วมีความหมายอย่างใดอย่างหนึ่งและมีสำคัญควรค่าแก่การจัดเก็บเพื่อนำไปใช้ในโอกาสต่อ ๆ ไป ข้อมูลมักเป็นข้อความที่อธิบายถึงสิ่งใดสิ่งหนึ่ง อาจเป็นตัวอักษร ตัวเลข หรือสัญลักษณ์ใด ๆ ที่สามารถนำไปประมวลผลด้วยคอมพิวเตอร์ได้ (ทักษิณา สวนานนท์ และฐานิศรา เกียรติบารมี 2546: 165)
สารสนเทศ หมายถึง ข้อมูลข่าวสาร ความรู้ต่าง ๆ ที่ได้รับการสรุป คำนวณ จัดเรียง หรือประมวลแล้วจากข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างเป็นระบบตามหลักวิชาการ จนได้เป็นข้อความรู้ เพื่อนำมาเผยแพร่และใช้ประโยชน์ในงานด้านต่าง ๆ (สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี 2538: 3)
ข้อมูลและสารสนเทศนับว่ามีประโยชน์ต่อการนำไปใช้บริหารงานด้านต่าง ๆ มากมาย อาทิเช่น
1. ด้านการวางแผน สามารถนำสารสนเทศไปใช้ในการวางแผนเกี่ยวกับการจัดการองค์การ การบริหารงานทรัพยากรมนุษย์ กระบวนการผลิตสินค้า การตลาด เป็นต้น
2. ด้านการตัดสินใจ สามารถนำสารสนเทศไปใช้ในการตัดสินใจเพื่อเลือกแนวทางหรือทางเลือกที่มีปัญหาน้อยที่สุดในการแก้ปัญหาต่าง ๆ การมีสารสนเทศที่สมบูรณ์ ทันสมัย และครบถ้วนจะช่วยให้การตัดสินใจถูกต้อง รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
3. ด้านการดำเนินงาน สามารถนำสารสนเทศไปใช้ในการดำเนินงานต่าง ๆ เช่น ใช้เพื่อควบคุมหรือติดตามผลการปฏิบัติงานให้สอดคล้องกับกฎระเบียบ วัตถุประสงค์ และเป้าหมายขององค์การ
ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศ
เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology: IT) หรือเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Information and Communication Technologies: ICTs) ก็คือ เทคโนโลยีสองด้านหลัก ๆ ที่ประกอบด้วยเทคโนโลยีระบบคอมพิวเตอร์ และ เทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคมที่ผนวกเข้าด้วยกัน เพื่อใช้ในกระบวนการจัดหา จัดเก็บ สร้าง และเผยแพร่สารสนเทศในรูปต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเสียง ภาพ ภาพเคลื่อนไหวข้อความหรือตัวอักษร และตัวเลข เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ความถูกต้อง ความแม่นยำ และความรวดเร็วให้ทันต่อการนำไปใช้ประโยชน์
ความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ
สามารถอธิบายความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศในด้านที่มีผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมด้านต่าง ๆ ของผู้คนไว้หลายประการดังต่อไปนี้ (จอห์น ไนซ์บิตต์ อ้างถึงใน ยืน ภู่วรวรรณ)
ประการที่หนึ่ง เทคโนโลยีสารสนเทศ ทำให้สังคมเปลี่ยนจากสังคมอุตสาหกรรมมาเป็นสังคมสารสนเทศ
ประการที่สอง เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้ระบบเศรษฐกิจเปลี่ยนจากระบบแห่งชาติไปเป็นเศรษฐกิจโลก ที่ทำให้ระบบเศรษฐกิจของโลกผูกพันกับทุกประเทศ ความเชื่อมโยงของเครือข่ายสารสนเทศทำให้เกิดสังคมโลกาภิวัฒน์
ประการที่สาม เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้องค์กรมีลักษณะผูกพัน มีการบังคับบัญชาแบบแนวราบมากขึ้น หน่วยธุรกิจมีขนาดเล็กลง และเชื่อมโยงกันกับหน่วยธุรกิจอื่นเป็นเครือข่าย การดำเนินธุรกิจมีการแข่งขันกันในด้านความเร็ว โดยอาศัยการใช้ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ และการสื่อสารโทรคมนาคมเป็นตัวสนับสนุน เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนข้อมูลได้ง่ายและรวดเร็ว
ประการที่สี่ เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเทคโนโลยีแบบสุนทรียสัมผัส และสามารถตอบสนองตามความต้องการการใช้เทคโนโลยีในรูปแบบใหม่ที่เลือกได้เอง
ประการที่ห้า เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้เกิดสภาพทางการทำงานแบบทุกสถานที่และทุกเวลา
ประการที่หก เทคโนโลยีสารสนเทศก่อให้เกิดการวางแผนการดำเนินการระยะยาวขึ้น อีกทั้งยังทำให้วิถีการตัดสินใจ หรือเลือกทางเลือกได้ละเอียดขึ้น
กล่าวโดยสรุป เทคโนโลยีสารสนเทศมีบทบาทที่สำคัญในทุกวงการ มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงโลกด้านความเป็นอยู่ สังคม เศรษฐกิจ การศึกษา การแพทย์ เกษตรกรรม อุตสาหกรรม การเมือง ตลอดจนการวิจัยและการพัฒนาต่าง ๆ
ปัจจัยที่ทำให้เกิดความล้มเหลวในการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้
จากงานวิจัยของ Whittaker (1999: 23) พบว่า ปัจจัยของความล้มเหลวหรือความผิดพลาดที่เกิดจากการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในองค์การ มีสาเหตุหลัก 3 ประการ ได้แก่
1. การขาดการวางแผนที่ดีพอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการวางแผนจัดการความเสี่ยงไม่ดีพอ ยิ่งองค์การมีขนาดใหญ่มากขึ้นเท่าใด การจัดการความเสี่ยงย่อมจะมีความสำคัญมากขึ้นเป็นเงาตามตัว ทำให้ค่าใช้จ่ายด้านนี้เพิ่มสูงขึ้น
2. การนำเทคโนโลยีที่ไม่เหมาะสมมาใช้งาน การนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาใช้ในองค์การจำเป็นต้องพิจารณาให้สอดคล้องกับลักษณะของธุรกิจหรืองานที่องค์การดำเนินอยู่ หากเลือกใช้เทคโนโลยีที่ไม่สอดรับกับความต้องการขององค์การแล้วจะทำให้เกิดปัญหาต่าง ๆ ตามมา และเป็นการสิ้นเปลืองงบประมาณโดยใช่เหตุ
3. การขาดการจัดการหรือสนับสนุนจากผู้บริหารระดับสูง การที่จะนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาใช้งานในองค์กร หากขาดซึ่งความสนับสนุนจากผู้บริหารระดับสูงแล้วก็ถือว่าล้มเหลวตั้งแต่ยังไม่ได้เริ่มต้น การได้รับความมั่นใจจากผู้บริหารระดับสูงเป็นก้าวย่างที่สำคัญและจำเป็นที่จะทำให้การนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในองค์การประสบความสำเร็จ
สำหรับสาเหตุของความล้มเหลวอื่น ๆ ที่พบจากการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ เช่น ใช้เวลาในการดำเนินการมากเกินไป (Schedule overruns), นำเทคโนโลยีที่ล้ำสมัยหรือยังไม่ผ่านการพิสูจน์มาใช้งาน (New or unproven technology), ประเมินแผนความต้องการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศไม่ถูกต้อง, ผู้จัดจำหน่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ (Vendor) ที่องค์การซื้อมาใช้งานไม่มีประสิทธิภาพและขาดความรับผิดชอบ และระยะเวลาของการพัฒนาหรือนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้จนเสร็จสมบูรณ์ใช้เวลาน้อยกว่าหนึ่งปี
นอกจากนี้ ปัจจัยอื่น ๆ ที่ทำให้การนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ไม่ประสบความสำเร็จในด้านผู้ใช้งานนั้น อาจสรุปได้ดังนี้ คือ
1. ความกลัวการเปลี่ยนแปลง กล่าวคือ ผู้คนกลัวที่จะเรียนรู้การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ รวมทั้งกลัวว่าเทคโนโลยีสารสนเทศจะเข้ามาลดบทบาทและความสำคัญในหน้าที่การงานที่รับผิดชอบของตนให้ลดน้อยลง จนทำให้ต่อต้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
2. การไม่ติดตามข่าวสารความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างสม่ำเสมอ เนื่องจากเทคโนโลยีสารสนเทศเปลี่ยนแปลงรวดเร็วมาก หากไม่หมั่นติดตามอย่างสม่ำเสมอแล้วจะทำให้กลายเป็นคนล้าหลังและตกขอบ จนเกิดสภาวะชะงักงันในการเรียนรู้และใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
3. โครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของประเทศกระจายไม่ทั่วถึง ทำให้ขาดความเสมอภาคในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือเกิดการใช้กระจุกตัวเพียงบางพื้นที่ ทำให้เป็นอุปสรรคในการใช้งานด้านต่าง ๆ ตามมา เช่น ระบบโทรศัพท์ อินเทอร์เน็ตความเร็วสูง ฯลฯ
สรุป แนวความคิดเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ คือ ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีทำให้เกิดวิธีการใหม่ ๆ ในการจัดเก็บความรู้ การส่งผ่าน และการสื่อสารสารสนเทศ การเข้าถึงสารสนเทศ รวมไปถึงการสร้างอุตสาหกรรมสารสนเทศ และความต้องการสารสนเทศ และการจัดการสารสนเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ คำว่า Information Technology ตรงกับคำในระบบว่า Informatique หมายถึง การนำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีอื่น ๆ มาใช้ประโยชน์ ในส่วนงานที่เกี่ยวข้องกับสังคมและเศรษฐกิจ นอกจากนี้ยังมีคำที่มีความหมายเกี่ยวข้องกันคือ Telematique มีความหมายว่า เป็นการบูรณาการระหว่างคอมพิวเตอร์กับการสื่อสาร และคำว่า Burotique มีความหมายถึง สำนักงานอัตโนมัติ ส่วนภาษาอังกฤษมีการรวมคำนี้ใช้แทนเทคโนโลยีสารสนเทศ คือ Informatic มีความหมายเช่นเดียวกันกับ Informatiqe แต่คำเหล่านี้ไม่เป็นที่นิยมมากนัก คณะกรรมการ The council for National Academie Awards (CNAA) จึงได้บัญญัติคำ Computing and Informatics ขึ้นมาใช้แทน โดยนำคำว่า Computing มารวมเข้าด้วยกันนั้นก็เพื่อทำให้หายสงสัยในกรณียังมีผู้ไม่เข้าใจคำว่า Informatics และในสหรัฐอเมริกาได้มีการบัญญัติคำว่า Teleputer ขึ้นมาใช้ แต่ก็ไม่เป็นที่นิยมเช่นกัน และต่อมาจึงได้มีการบัญญัติคำ Information Technology ขึ้นมาใช้และเป็นที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายไปทั่วโลกจนถึงปัจจุบัน
การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ในสภาพสังคมปัจจุบันมนุษย์สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยปฏิบัติงานในด้านต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิผล ตัวอย่างการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ได้แก่
1. การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในงานสำนักงาน ปัจจุบันสำนักงานจำนวนมากได้นำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาประยุกต์ใช้อย่างแพร่หลาย ทั้งนี้ เพื่อให้งานบังเกิดผลในด้านบวก อาทิ ความสะดวกรวดเร็ว ความถูกต้อง และสามารถทำฉบับซ้ำได้เป็นจำนวนมาก เป็นต้น ผลิตภัณฑ์เทคโนโลยีสารสนเทศที่นำมาใช้ ได้แก่ เครื่องพิมพ์ดีดอิเล็กทรอนิกส์ โทรศัพท์ เทเล็กซ์ เครื่องเขียนตามคำบอกอัตโนมัติ (Dictating Machines) เครื่องอ่านและบันทึกวัสดุย่อส่วน เครื่องถ่ายเอกสารแบบหน่วยความจำ เครื่องโทรสาร ฯลฯ ผลิตภัณฑ์เหล่านี้ นำไปประยุกต์ใช้กับงานสำนักงานได้ในหลายลักษณะ เช่น
1.1 งานจัดเตรียมเอกสาร ได้แก่ การใช้เครื่องประมวลผลคำหรือเครื่องประมวลผลเนื้อหา เป็นเครื่องมือในการจัดเตรียม อุปกรณ์ประกอบการใช้เทคโนโลยีนี้ ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ โมเด็ม และช่องทางการสื่อสาร ทั้งนี้เพื่อให้สามารถเชื่อมโยงสารสนเทศระหว่างแผนก หรือระหว่างหน่วยงาน ทั้งหน่วยงานภายในและหน่วยงานภายนอกที่อยู่ห่างไกล ระบบประมวลผลคำนี้ จำแนกได้ 2 ระบบ คือ
1.1.1 ระบบ Stand-aloan เป็นระบบที่สามารประมวลผลได้ภายในชุดคอมพิวเตอร์เดียว (Set) หรืออาจเชื่อมโยงไปยังคอมพิวเตอร์อื่น ๆ ได้โดยไม่ผ่านช่องทางการสื่อสาร ระบบนี้ประกอบด้วยเทอร์มินัล 1 ชุด (หน่วยประมวลผลหรือโปรเซสเซอร์ แป้นพิมพ์ หน่วยแสดงผลทางหน้าจอ หรือมอนิเตอร์) ซึ่งต่อเชื่อมกับหน่วยจัดเก็บข้อมูลและเครื่องพิมพ์
1.1.2 ระบบเชื่อมโยงกับข่ายการสื่อสาร เป็นระบบที่มีการเชื่อมโยงสารสนเทศซึ่งกันและกันผ่านเครือข่ายโทรคมนาคม เช่น เครือข่ายโทรศัพท์ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ หรือเครือข่ายสารสนเทศ (Information Networks) เป็นต้น ระบบนี้ประกอบด้วยเทอร์มินัลหลายชุด มีสมรรถนะในการเข้าถึงสารสนเทศซึ่งกันและกันโดยผ่านหน่วย Switching ซึ่งทำหน้าที่เป็นทางผ่านและเป็นตัวกลางในการเชื่อมโยงแต่ละเทอร์มินัลเข้าด้วยกันผ่านข่ายงานการสื่อสาร
1.1.2 ระบบเชื่อมโยงกับข่ายการสื่อสาร เป็นระบบที่มีการเชื่อมโยงสารสนเทศซึ่งกันและกันผ่านเครือข่ายโทรคมนาคม เช่น เครือข่ายโทรศัพท์ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ หรือเครือข่ายสารสนเทศ (Information Networks) เป็นต้น ระบบนี้ประกอบด้วยเทอร์มินัลหลายชุด มีสมรรถนะในการเข้าถึงสารสนเทศซึ่งกันและกันโดยผ่านหน่วย Switching ซึ่งทำหน้าที่เป็นทางผ่านและเป็นตัวกลางในการเชื่อมโยงแต่ละเทอร์มินัลเข้าด้วยกันผ่านข่ายงานการสื่อสาร
1.2 งานกระจายเอกสาร เป็นการกระจายสารสนเทศไปยังผู้ใช้ ณ จุดต่าง ๆ อาจกระทำได้โดยการเชื่อมโยงผ่านเครือข่ายโทรคมนาคม ผลิตภัณฑ์เทคโนโลยีสารสนเทศที่สามารถปฏิบัติงาน ณ จุดนี้ได้โดยอัตโนมัติ ได้แก่ ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เทเลเท็กซต์ เทเล็กซ์ โทรสาร ระบบการประชุมทางไกล เป็นต้น
1.3 งานจัดเก็บและค้นคืนเอกสาร สามารถปฏิบัติได้ทั้งระบบออนไลน์และระบบออฟไลน์ผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ หรือผ่านเครือข่ายโทรคมนาคมรูปแบบอื่น เช่น ระบบงานฐานข้อมูล เป็นต้น
1.4 งานจัดเตรียมสารสนเทศในลักษณะภาพ เทคโนโลยีสารสนเทศที่สามารถดำเนินงานดังกล่าวนี้ได้ ได้แก่เครื่องคอมพิวเตอร์สร้างภาพ (Computer Graphic Devices) เครื่อง Scanner โทรทัศน์ และวีดีทัศน์ เป็นต้น
1.5 งานสื่อสารสารสนเทศด้วยเสียง เช่น การใช้โทรศัพท์ การประชุมทางโทรศัพท์ การบันทึกข้อมูลเสียงโดยใช้ Sound Blaster เป็นต้น
1.6 งานสื่อสารสารสนเทศด้วยภาพและเสียง เช่น ระบบมัลติมีเดีย ระบบการประชุมทางไกลด้วยภาพและเสียง เป็นต้นกล่าวโดยสรุป งานสำนักงานในอนาคต จะต้องบูรณาการเทคโนโลยีสารสนเทศชนิดต่าง ๆ เข้าด้วยกัน อาทิ เทคโนโลยีการประชุมทางไกลด้วยภาพและเสียง (Video Teleconference) การประมวลผลคำ การประมวลผลข้อมูล ฯลฯ เพื่อสนับสนุนงานด้านการบริหาร อีกทั้งมีการประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์อย่างแพร่หลายในองค์กรธุรกิจทั้งขนาดใหญ่และเล็ก บุคลากรทุกระดับในองค์กรจะสามารถใช้คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศอื่น ๆ ได้ทุกคน
2. การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในงานอุตสาหกรรม โรงงานอุตสาหกรรมหลายแห่งนำระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (Management Information System MIS) เข้ามาช่วยจัดการงานด้านการผลิต การสั่งซื้อ การพัสดุ การเงิน บุคลากร และงานด้านอื่น ๆ ในโรงงาน MIS จึงเป็นเครื่องมือสำคัญในการวางแผน การออกแบบผลิตภัณฑ์ และการวิจัยเพื่อพัฒนา และมีบทบาทสำคัญในการควบคุมการปฏิบัติการของเครื่องจักรในโรงงาน ดังนั้น ผลิตภัณฑ์เทคโนโลยีสารสนเทศอันเป็นส่วนประกอบสำคัญของระบบ MIS จึงนำมาประยุกต์ใช้กับงานอุตสาหกรรมได้ทุกประเภท ทั้งที่เป็นอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ขนาดย่อม หรืออุตสาหกรรมในครัวเรือน ตัวอย่างการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในงานอุตสาหกรรม ได้แก่
2.1 อุตสาหกรรมการพิมพ์ อุตสาหกรรมประเภทนี้ ใช้ระบบการพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Publishing) ในการจัดเตรียมต้นฉบับ บรรณาธิการ ตีพิมพ์ จัดเก็บ และจัดจำหน่าย และสามารถพิมพ์ข้อมูลจากระบบไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-mail) วีดิโอเท็กซ์ วัสดุย่อส่วน และเทเลเท็กซต์ได้ รวมทั้งการพิมพ์ภาพโดยใช้เทอร์มินัลนำเสนอภาพ (Visual Display Terminal)
2.2 อุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์ ได้ใช้คอมพิวเตอร์ออกแบบรถยนต์ ปฏิบัติการการผลิต (เช่น การพ่นสี การเชื่อมอุปกรณ์ต่าง ๆ เข้าด้วยกัน ฯลฯ) การขับเคลื่อน การบริการ และการขาย รวมทั้งออกแบบระบบคอมพิวเตอร์ให้สามารถปฏิบัติงานในโรงงานได้ในรูปแบบหุ่นยนต์ ทั้งนี้เพื่อเป็นการเพิ่มสมรรถนะในการผลิตและลดค่าใช้จ่ายด้านแรงงาน เพราะฉะนั้น ระบบสารสนเทศของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมรถยนต์ จักต้องเป็นระบบที่มีขีดความสามารถในการส่งทอดสารสนเทศไปยังระบบเทคโนโลยีสารสนเทศได้ในระดับสูง
3. การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในงานการเงินและการพาณิชย์ สถาบันการเงิน เช่น ธนาคาร ได้ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในรูปแบบของ ATM เพื่ออำนวยความสะดวกในการฝาก ถอน โอน เงิน ในส่วนของงานประจำของธนาคาร ต่างนำคอมพิวเตอร์ระบบออนไลน์และออฟไลน์เข้ามาช่วยปฏิบัติงาน ทำให้การเชื่อมโยงข้อมูลธนาคาร เป็นไปอย่างสะดวกรวดเร็ว ทุกสาขาสามารถเชื่อมโยงกับสาขาอื่นหรือสำนักงานใหญ่ และสามารถเชื่อมโยงกับธนาคารอื่นได้ในส่วนการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศกับงานพาณิชย์นั้น เป็นที่ประจักษ์กันแพร่หลายว่า ได้นำระบบรหัสแท่ง (Bar-codes) มาใช้ในการคำนวณราคาสินค้า รวมทั้งใช้ระบบมัลติมีเดียในการนำเสนอสินค้า หรือนิทรรศการสินค้า สู่สาธารณะชน
4. การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในงานการบริการการสื่อสาร ได้แก่ การบริการโทรศัพท์ โทรศัพท์เคลื่อนที่ วิทยุ โทรทัศน์ เคเบิลทีวี การค้นคืนสารสนเทศระบบออนไลน์ ดาวเทียม และ โครงข่ายบริการสื่อสารร่วมระบบดิจิตอล (ISDN) เป็นต้น
5. การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในงานด้านการสาธารณสุข สามารถนำมาประยุกต์ได้หลายด้าน ดังนี้ (สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี. 2538 : 22-23)
5.1 ระบบสารสนเทศโรงพยาบาล หรือ HIS (Hospital Information System) เป็นระบบที่ช่วยด้าน Patient record หรือเวชระเบียน ระบบข้อมูลยา การรักษาพยาบาล การคิดเงิน มีลักษณะแบบจุลภาค แต่สามารถขยายเป็นระดับมหาภาคได้ เมื่อโรงพยาบาลทั่วประเทศแลกเปลี่ยนและส่งเวชระเบียนผ่านระบบโทรคมนาคม เป็นโทรเวชกลาย ๆ ได้
5.2 ระบบสาธารณสุข ใช้ในการดูแลป้องกันโรคระบาดในท้องถิ่น เช่น เมื่อมีผู้ป่วยอหิวาตกโรคในท้องถิ่น เช่น เมื่อมีผู้ป่วยอหิวาตกโรคในหมู่บ้าน แพทย์และสาธารณสุขอำเภออาจตรวจค้นได้ว่าผู้ป่วยมาจากตำบลอะไร มีประชากรกี่คน เป็น ชาย หญิง เด็กเท่าไร เพื่อจะได้จัดหาวัคซีน ไปฉีดป้องกันได้ทันที ระบบทำนองนี้อาจขยายไปสู่ระดับอำเภอ และจังหวัด
5.3 ระบบผู้เชี่ยวชาญ (Expert System) เป็นระบบที่ใช้คอมพิวเตอร์วินิจฉัยโรคระบบที่มีชื่อเสียงเมื่อสิบปีเศษมานี้คือระบบ Mycin ของมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด และเริ่มมีผู้นำมาประยุกต์ใช้ในด้านอื่น ๆ มากขึ้น เลยไปถึงเรื่องโรคพืชและสัตว์ หลักการที่ใช้คือ เก็บข้อมูลต่าง ๆ ไว้ให้ละเอียด แล้วใช้หลักปัญญาประดิษฐ์ หรือ Artificial Intelligence – AI มาช่วยวิเคราะห์เป็นแนวคิดในการทำให้คอมพิวเตอร์ทำงานได้เหมือนคน ระบบนี้น่าจะช่วยอนามัยตำบลในการวินิจฉัยโรคยาก ๆ ได้ ให้คนที่มีความรู้ปานกลางพอสมควรสามารถที่จะวินิจฉัยโรคได้ เป็นอีกหนทางหนึ่งที่เพิ่มจาก Tele-medicine ที่ผู้เชี่ยวชาญตัวจริงต้องมาให้คำปรึกษาแนะนำด้านการตรวจอวัยวะภายในของมนุษย์ ได้ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่เรียกว่า Computer Tomography เป็นเครื่องมือสำคัญในการตรวจและอ่านผลการตรวจ นอกจากนี้ ระบบผู้เชี่ยวชาญ เป็นระบบที่ช่วยให้นักเรียนแพทย์และแพทย์ ได้ใช้สารสนเทศที่ทันสมัยตรงตามความต้องการ ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างมากต่อการเรียนและการวินิจฉัยโรค
6. การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศกับงานด้านการฝึกอบรมและการศึกษา การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการศึกษานั้นมีแนวทางในการใช้มากมายแต่ที่ใช้กันโดยทั่วไปมีอยู่ 6 ประเภท (ครรชิต มาลัยวงศ์. 2540 : 14-21) ดังนี้
6.1 การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI : Computer Assisted Instruction) เป็นการนำเอาคำอธิบายบทเรียนมาบรรจุไว้ในคอมพิวเตอร์ แล้วนำบทเรียนนั้นมาแสดงแก่ผู้เรียน เมื่อผู้เรียนอ่านคำอธิบายนั้นแล้ว คอมพิวเตอร์ก็จะทดสอบความเข้าใจว่าถูกต้องหรือไม่ หากไม่ถูกต้องก็ต้องมีวิธีการอธิบายเนื้อหาเพิ่มเติมให้เข้าใจมากขึ้นแล้วถามซ้ำอีก ซึ่งปัจจุบันมีพัฒนาการถึงระดับใช้สื่อประสมและใช้เทคนิคต่าง ๆ เพื่อให้การเรียนการสอนบรรลุผลสัมฤทธิ์มากขึ้น
6.2 การศึกษาทางไกล เทคโนโลยีสารสนเทศที่ใช้ในการจัดการศึกษาทางไกลมีหลายแบบตั้งแต่แบบง่าย ๆ เช่น การใช้วิทยุ โทรทัศน์ ออกอากาศให้ผู้เรียนศึกษาเองตามเวลาที่ออกอากาศ ไปจนถึงการใช้ระบบแพร่ภาพผ่านดาวเทียม (DTH : Direct To Home) หรือการประยุกต์ใช้ระบบประชุมทางไกล (Video Teleconference) โดยให้ผู้สอนและผู้เรียนสามารถสื่อสารถึงกันได้ทันทีเพื่อสอบถามข้อสงสัยหรืออธิบาย คำสอนเพิ่มเติม
6.3 เครือข่ายการศึกษา เป็นการจัดทำเครือข่ายการศึกษาเพื่อให้ครูอาจารย์และนักเรียนนักศึกษามีโอกาสใช้เครือข่ายเพื่อเสาะแสวงหาความรู้ที่มีอยู่อย่างมากมายในโลก และใช้บริการต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์ทางการศึกษา เช่น บริการส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (E-mail : Electronics Mail) การเผยแพร่และค้นหาข้อมูลในระบบเวิลด์ไวด์เว็บ (World Wide Web) ซึ่งในปัจจุบันมีเครือข่าย
สคูลเน็ต (SchoolNet) ที่เนคเทคได้ส่งเสริมให้เกิดขึ้นและมีโรงเรียนเข้าร่วมโครงการนี้ประมาณ 60 โรงเรียน (พ.ศ. 2540) และยังมี เครือข่ายกาญจนาภิเษกที่จัดทำขึ้นเพื่อเป็นการกระจายความรู้ให้กับประชาชนโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการเข้าใช้สารสนเทศแต่อย่างใด
6.4 การใช้งานในห้องสมุด ในปัจจุบันห้องสมุดมหาวิทยาลัยของรัฐและเอกชนเกือบทุกแห่งได้นำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการดำเนินงาน นอกจากนี้ยังส่งเสริมให้มีความร่วมมือในการให้บริการในลักษณะเครือข่าย เช่น โครงการ PULINET (Provincial University Library Network) และโครงการ THAILINET (Thai Library Network) การนำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในห้องสมุดทำให้ผู้ใช้ได้รับความสะดวกมากขึ้น เช่น บริการยืมคืน การค้นหาหนังสือ วารสาร สิ่งพิมพ์ต่าง ๆ ที่ต้องการได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว
6.5 การใช้งานในห้องปฏิบัติการ มีการนำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการทำงานในห้องปฏิบัติการร่วมกับอุปกรณ์อื่น ๆ เช่น การจำลองแบบ การออกแบบวงจรไฟฟ้า การควบคุมการทดลอง ซึ่งอุปกรณ์ที่ทันสมัยในปัจจุบันต่างผนวกความสามารถของเทคโนโลยีสารสนเทศเข้าไปด้วยแทบทั้งสิ้น
6.6 การใช้ในงานประจำและงานบริหาร เช่น การจัดทำทะเบียนประวัติของนักเรียนนักศึกษา การเลือกเรียน การลงทะเบียนเรียน การแสดงผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การแนะแนวอาชีพและศึกษาต่อ ข้อมูลผู้ปกครอง หรือข้อมูลครู ซึ่งการมีข้อมูลดังกล่าวทำให้ครูอาจารย์สามารถติดตามและดูแลนักเรียนได้อย่างดี รวมทั้งครูอาจารย์สามารถพัฒนาตนเองได้สูงขึ้น
7. การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่บ้าน
แนวโน้มของเทคโนโลยีสารสนเทศ
ในต้นศตวรรษที่ 19 เป็นช่วงที่มีการพัฒนาการสื่อสารทางไกลที่เรียกว่าโทรคมนาคม พร้อมกันนั้นก็มีเทคโนโลยีการสื่อสารทางด้านการกระจายเสียง คือ มีเรื่องของวิทยุและโทรทัศน์เกิดขึ้น ช่วงนี้จึงเป็นช่วงที่มนุษย์ได้มีเครื่องมือสื่อสารหลายรูปแบบ หลายลักษณะ แต่ว่าในด้านการศึกษาได้นำเอาเครื่องมือเหล่านี้มาใช้เพื่อการศึกษา มากน้อยเพียงใดขณะที่การใช้เทคโนโลยีการพิมพ์ซึ่งเกิดขึ้น ในกลางศตวรรษที่ 15 ยังมีใช้กันอยู่มาก ประมาณได้ว่าประเทศไทยยังอยู่ในช่วงที่ 4 ขณะที่พัฒนาการด้านการสื่อสารได้ก้าวเข้าไปสู่ช่วงที่ 5 ก็คือช่วงที่ได้มีการเอาเทคโนโลยีโทรคมนาคมกับคอมพิวเตอร์เข้ามาผสมผสานกันกับโทรทัศพท์ โทรศัพท์ก็สามารถที่จะสร้างเป็นเครือข่ายของข่าวสาร ที่สามารถจะมีภาพก็ได้ และสามารถที่จะใช้เป็นเครื่องมือสื่อสารที่ไม่ใช่เฉพาะระหว่างบุคคลต่อบุคคล แต่สามารถใช้สื่อสารระหว่างบุคคลกับมวลชนได้ จึงมีการนำเอาเทคโนโลยีที่มีอยู่ในสังคมหรือกำลังจะมีในสังคมมาใช้ประโยชน์ทางการศึกษาอย่างเหมาะสมกับพัฒนาการทางการศึกษาในช่วงนั้นๆ และถ้าศึกษาถึงแนวโน้มทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ อย่างน้อยเห็นแนวโน้มได้ 3 ลักษณะคือ แนวโน้มที่ 1
เทคโนโลยีสารสนเทศนั้นจะเป็นการสื่อสารมวลชนมากขึ้นทั้งๆ ที่สื่อหรือการสื่อสารบางอย่างเริ่มต้นในฐานะเป็นสื่อระหว่างบุคคลตัวอย่าง เช่น เรื่องโทรศัพท์ แต่ก่อนใช้เพื่อสื่อสารระหว่างบุคคลที่ต้องการใช้โทรศัพท์โทรถึงกันแต่มาบัดนี้โทรศัพท์สามารถที่จะใช้เพื่อสื่อสารไปถึงคนจำนวนมากได้โดยใช้เทคโนโลยีอื่นๆ ประกอบ
แนวโน้มที่ 2
สภาพของสื่อที่ใช้เสียงในการสื่อสารขณะนี้เริ่มพัฒนาเป็นการสื่อสารด้วยภาพมากขึ้น และเป็นการผสมระหว่างภาพกับเสียงแม้ปัจจุบันที่มีวิทยุโทรทัศน์เป็นทั้งภาพและเสียง ส่วนโทรศัพท์ แต่ก่อนเป็นแต่เรื่องเสียง ตอนนี้โทรศัพท์ก็จะเป็นทั้งเสียงและภาพ ซึ่งสื่อทั้งหลายรวมทั้งคอมพิวเตอร์ก็เริ่มมาใช้งานในลักษณะที่นำเสนอเป็นภาพและเสียงมากขึ้น จากแนวโน้มในข้อนี้เห็นได้ว่าสื่อใดที่มีทั้งภาพและเสียงสื่อนั้นจะมีประสิทธิภาพในการสื่อสารสูง
แนวโน้มที่ 3
สื่อประเภทต่างๆ มีราคาถูกลงโดยมีคุณภาพและประสิทธิภาพสูงขึ้น เดิมนั้นคอมพิวเตอร์ วิทยุโทรทัศน์หรือแม้แต่โทรศัพท์มีราคาแพง ปัจจุบันยิ่งพัฒนาไปมากเท่าไร ราคาก็ยิ่งถูกลงทำให้ มีการนำเอามาใช้มากยิ่งขึ้น
แนวคิดการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อพัฒนาการศึกษา
ถ้าย้อนกลับมาดูพัฒนาการทางการศึกษาของประเทศไทยจะเห็นได้ว่าอาศัยความก้าวหน้าทางด้านการสื่อสาร เป็นส่วนประกอบสำคัญในการพัฒนาการศึกษาทั้งในระบบและนอกระบบโรงเรียนมาตลอด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาทางไกล ตัวอย่างที่มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชได้ใช้ระบบนี้ในการจัดการศึกษาซึ่งพบว่า การจัดการศึกษาเกี่ยวข้องกับการพัฒนาทางด้านการสื่อสารทั้งสิ้น กล่าวคือ สมัยแรกที่กิจการไปรษณีย์เป็นที่นิยมใช้กันอย่างกว้างขวาง การสอนทางไกลก็จะไปเกี่ยวกับการบริการทางไปรษณีย์คือการเอาสิ่งพิมพ์ในรูปของตำราส่งไปทางไปรษณีย์เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนที่บ้าน ต่อมาเมื่อวิทยุเข้ามามีบทบาทในการ สื่อสาร มหาวิทยาลัยทางวิทยุก็เกิดขึ้น และใช้สื่อวิทยุซึ่งเป็นสื่อเสียงในการสอน และก็อาจมีสื่อสิ่งพิมพ์ประกอบด้วย และเมื่อโทรทัศน์เข้ามามีบทบาทในการสื่อสารมวลชน ก็เกิดมีมหาวิทยาลัยที่สอนโดยใช้โทรทัศน์ร่วมกับเอกสาร สิ่งพิมพ์ มาถึงยุคปัจจุบันมีการพัฒนา การด้านการสื่อสารหลายๆ อย่าง โดยมีความคิดว่าจะไม่ขึ้นอยู่กับสื่อสารใด สื่อสารหนึ่งเท่านั้น เพราะจะทำให้ใช้ประโยชน์ไม่ได้เต็มที่ ต้องใช้การสื่อสารหลายๆ รูปแบบที่เรียกว่า "การใช้สื่อสารแบบประสม"บทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศต่อการศึกษา เทคโนโลยีสารสนเทศได้เข้ามามีบทบาทต่อการศึกษาอย่างมาก โดยเฉพาะเทคโนโลยีทางด้านคอมพิวเตอร์และการสื่อสารโทรคมนาคมมีบทบาทที่สำคัญต่อการพัฒนาการศึกษา ดังนี้
1. เทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามามีส่วนช่วยเรื่องการเรียนรู้ ปัจจุบันมีเครื่องมือที่ช่วยสนับสนุนการเรียนรู้ หลายด้าน มีระบบคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) ระบบสนับสนุนการรับรู้ข่าวสาร เช่น การค้นหาข้อมูลข่าวสารเพื่อการเรียนรู้ใน World Wide Web เป็นต้น
2. เทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาสนับสนุนการจัดการศึกษา โดยเฉพาะการจัดการศึกษาสมัยใหม่จำเป็นต้องอาศัยข้อมูลข่าวสารเพื่อการวางแผน การดำเนินการ การติดตามและประเมินผลซึ่งอาศัยคอมพิวเตอร์และระบบสื่อสารโทรคมนาคมเข้ามามีบทบาทที่สำคัญ1. เทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามามีส่วนช่วยเรื่องการเรียนรู้ ปัจจุบันมีเครื่องมือที่ช่วยสนับสนุนการเรียนรู้ หลายด้าน มีระบบคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) ระบบสนับสนุนการรับรู้ข่าวสาร เช่น การค้นหาข้อมูลข่าวสารเพื่อการเรียนรู้ใน World Wide Web เป็นต้น
3. เทคโนโลยีสารสนเทศกับการสื่อสารระหว่างบุคคล ในเกือบทุกวงการทั้งทางด้านการศึกษาจำเป็นต้องอาศัยสื่อสัมพันธ์ระหว่างตัวบุคคล เช่น การสื่อสารระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน โดยใช้องค์ประกอบที่สำคัญช่วยสนับสนุนให้เกิดประสิทธิภาพในการดำเนินงาน เช่น การใช้โทรศัพท์ โทรสาร ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ เทเลคอมเฟอเรนซ์ เป็นต้น
เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษาสำหรับคนพิการ
เมื่อเข้าสู่ยุคเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่มีการนำเอาเทคโนโลยีต่างๆ มาใช้เพื่อการศึกษา และโดยเฉพาะการนำมาปรับใช้สำหรับคนพิการได้ผลดีอย่างมากมาย กล่าวคือคนพิการสามารถพึ่งตนเองในการเรียนรู้ได้เป็นอย่างดี ก่อให้เกิดการเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง (Independent Learning) ไม่เป็นภาระแก่ผู้ดูแลอย่างที่เคยเป็นมาก่อนในอดีต การเรียนเกิดขึ้นได้อย่างสม่ำเสมอและรวดเร็วเทียบเท่ากับคนทั่วไป ตัวอย่างเช่น คนตาบอดสามารถใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เขียนหนังสือ และพิมพ์ออกมาเพื่อนำมาใช้กับคนปกติทั่วไปผลงานการพิมพ์ก็สวยงามมี คุณภาพรวดเร็วกว่าการใช้เขียนเป็นอักษรเบรลล์ คอมพิวเตอร์ที่ปรับใช้แล้วยังสามารถอ่านข้อความที่ปรากฎบนจอให้ ผู้พิการทั้งได้ทันทีโดยไม่ต้องใช้คนช่วยอ่านอีกต่อไป ดังนั้นการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศจึงได้ผลดีสำหรับคนตาบอด และ ช่วยให้สัมฤทธิ์ผลต่อการเรียนรู้และการดำรงชีวิตในปัจจุบันการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับคนพิการต้องปรับใช้ให้เหมาะสมกับความสามารถที่คนพิการมีอยู่ เช่น ทำนาฬิกาให้พูดบอกเวลาได้ หรือมีการสั่นสะเทือนผูกไว้กับข้อมือ สำหรับคนพิการหูหนวก หูตึง เป็นต้น
การยอมรับและการเผยแพร่การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับคนพิการมีประเด็นสำคัญที่จะนำไปสู่ความสำเร็จ 3 ประการ คือ
1. การยอมรับของคนพิการ หมายถึง การยอมรับเทคโนโลยี หรือพยายามปรับตัวเข้ารับเทคโนโลยี หรือพยายามปรับตัวเข้ารับเทคโนโลยี รวมถึงความตั้งใจจริงยอมรับการฝึกหัด ยอมอดทนฝึกฝนการใช้เทคโนโลยีนั้นจนชำนาญ และเกิดผลประโยชน์แก่ตน
2. การจัดสรรเทคโนโลยีที่เหมาะสม หมายถึง การที่รัฐหรือหน่วยงานสามารถจัดเทคโนโลยีเหล่านั้นให้คนพิการได้อย่างเหมาะสมมีคุณภาพและเพียงพอ
3. การมีนักวิชาการสอนเทคโนโลยี หมายถึง คนที่สอนเทคนิคการใช้หรือทำหน้าที่ปรับได้เพื่อคนพิการจนคนพิการใช้ได้ผลดี สามารถสอนจนคนพิการสามารถเรียนรู้ได้
เมื่อกล่าวถึงเทคโนโลยีสารสนเทศที่สอดคล้องกับคนพิการ อาจจำแนกได้ดังต่อไปนี้
1. คอมพิวเตอร์ ซึ่งมีลักษณะทั่วไปไม่แตกต่างจากที่คนปกติใช้กันอยู่ อาทิ ระบบปฏิบัติการที่เป็น DOS, Windows, Macintosh, Unix หรืออื่นๆ แต่คอมพิวเตอร์สำหรับคนพิการ เช่น ตาบอด ได้รับการออกแบบพิเศษ สำหรับผู้ที่เคยชินกับการใช้แป้นพิมพ์ที่เป็นอักษรเบรลล์ ซึ่งเป็นลักษณะที่แตกต่างจากแป้นพิมพ์ทั่วๆ ไป2. อุปกรณ์ช่วยเป็นอุปกรณ์อำนวยความสะดวกในการทำงานกับเครื่องคอมพิวเตอร์ (ใช้แทนจอมอนิเตอร์ที่คนทั่วไปสามารถอ่านได้ด้วยตา) โดยอาจแบ่งเป็น 2 ประเภทได้แก่
2.1 เครื่องสังเคราะห์เสียง (Speech Synthesizer) อาศัยเสียงเป็นสื่อกลางในการทำงานกับคอมพิวเตอร์ในลักษณะเป็นมอนิเตอร์เสียง ทำหน้าที่เปล่งเสียงออกมาตามคำสั่งของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ได้รับการออกแบบให้ทำหน้าที่แปลงข้อความบนจอมอนิเตอร์ให้เป็นเสียง
2.2 เบรลล์เอาต์พุต (Braille Output) ใช้อักษรเบรลล์เป็นสื่อกลางในการใช้คอมพิวเตอร์ซึ่งอาจ ทำได้ 2 วิธี การใช้จอที่แสดงผลข้อมูลเป็นอักษรเบรลล์ขณะทำงานกับคอมพิวเตอร์ (Braille Display) หรือใช้วิธีพิมพ์เอกสารที่ได้ผ่านเครื่องพิมพ์อักษรเบรลล์ (Braille Printer)
3.1 เครื่องอ่านหน้าจอ (Screen Reader) ทำหน้าที่แปลงข้อมูลบนจอภาพให้เป็นเสียง ซึ่งสามารถได้ยินจากเครื่องสังเคราะห์เสียง
3.2 เครื่องขยายหน้าจอ (Screen Enlarge ment) ทำหน้าที่ขยายตัวอักษรหรือรูปภาพบนจอคอมพิวเตอร์ให้มีขนาดใหญ่ขึ้น เพื่ออำนวยความสะดวกให้บุคคลที่สายตาเลือนลางสามารถอ่านจอคอมพิวเตอร์ได้
3.3 เครื่องแปลอักษรเบรลล์ (Braille Translation) ทำหน้าที่แปลข้อมูลบนจอคอมพิวเตอร์ทั้งที่เป็นอักษรสิ่งตีพิมพ์หรือที่เป็นรูปภาพให้เป็นอักษรเบรลล์ เพื่อการแสดงผลบนจอเบรลล์ (Braille Display) หรือเพื่อ การพิมพ์ออกมาเป็นเอกสารอักษรเบรลล์ต่อไป
นอกจากนั้นยังมีการนำเอาเทคโนโลยี สารสนเทศมาใช้กับคนพิการในลักษณะบูรณาการ กล่าวคือนำเอาอุปกรณ์ โปรแกรมคอมพิวเตอร์และ สิ่งอำนวยความสะดวกชนิดอื่นๆ อีกมาใช้ เช่น เครื่องอ่านหนังสือซึ่งเป็นการรวมเอาเทคโนโลยีหลายๆ ด้าน เข้าด้วยกัน ได้แก่ เครื่องสแกนเนอร์ โปรแกรม OCR (Optical Character Recognition) เครื่องคอมพิวเตอร์ โปรแกรมอ่านจอภาพ โปรแกรมสังเคราะห์เสียง หรือจอแสดงเบรลล์ เป็นต้นการนำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้กับคนพิการเป็นสิ่งที่ช่วยคนพิการให้เกิดการเรียนรู้และสามารถพึ่ง ตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเมื่อพิจารณาถึงการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางการศึกษา ทำให้เกิดความ เข้าใจ และปลูกจิตสำนึกในสิทธิขั้นพื้นฐานของทุกคนในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร ซึ่งนำไปสู่ความเท่าเทียมกันของด้านโอกาสในการเรียนรู้การประกอบอาชีพ ตลอดจนการมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคม รัฐบาลควรส่งเสริมให้มีการวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่อำนวยความสะดวกแก่คนพิการแต่ละประเภทอย่างจริงจัง
การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา
เทคโนโลยีสารสนเทศที่นำมาใช้สำหรับการสอนเป็นการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่หลายอย่าง ทำให้การเรียนการสอนด้วยอุปกรณ์ที่ทันสมัย ห้องเรียนสมัยใหม่ มีอุปกรณ์วิดีโอโปรเจคเตอร์ (Video Projector) มีเครื่องคอมพิวเตอร์ มีระบบการอ่านข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์แบบต่างๆ รูปแบบของสื่อการศึกษาที่นำมาใช้ในการเรียนการสอน ก็มีหลากหลาย ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมในการนำมาใช้ เช่น มัลติมีเดีย อิเล็กทรอนิกส์ยุค วิดีโอเทเลคอนเฟอเรนซ์ ระบบวิดีโอออนดีมานด์ ไฮเปอร์เท็กซ์ คอมพิวเตอร์ และระบบอินเตอร์เน็ต เป็นต้นประโยชน์และโทษของเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่มีต่อการเรียนการสอน
ปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศมีการพัฒนาอย่างรวดเร็วและไร้ขีดจำกัดเนื่องจากความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมีการพัฒนาแบบก้าวกระโดดและทวีความสำคัญมากขึ้น เนื่องจากการศึกษามิใช่จำกัดอยู่เพียงในห้องเรียนหรือในโรงเรียน แต่การศึกษาเป็นการเรียนรู้ตลอดชีวิต ในขณะที่นักเรียนที่รับข้อมูลได้ปกติ สามารถเพิ่มศักยภาพในการ "เรียนรู้ด้วยตัวเอง" (Independent learning) ได้มากขึ้น จากความหลากหลายของเนื้อหา ในสื่ออิเล็กทรอนิกส์ นอกจากนี้ผลจากเทคโนโลยีสารสนเทศยังก่อให้เกิดนวัตกรรมทางการศึกษาใหม่ๆ เมื่อเด็กๆ มีความใส่ใจ กับการสร้างสิ่งที่มีความหมายเทคโนโลยีสารสนเทศลดความเลื่อมล้ำ ของโอกาสของการศึกษา ที่เป็นเงื่อนไขสำคัญ ในการตอบสนองนโยบายการศึกษานี้เป็น การศึกษา เพื่อประชาชนทุกคน อันจะเป็นการสร้างความเท่าเทียมทางสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความเท่าเทียมด้านการศึกษา เช่น ระบบการสอนทางไกลผ่านดาวเทียม ที่มีต่อโรงเรียนห่างไกลในชนบทมีด้วยโอกาสให้มีโอกาส เท่าเทียมกับท้องถิ่นที่เจริญกว่าทำให้ผลของการที่นำเรียน ในชนบทมีโอกาสเข้าถึงแหล่งข้อมูลของโลก หรืออีกนัยหนึ่ง ห้องสมุดโลก"ผ่านทางเครือข่ายอินเตอร์เน็ตหรือการมีเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือที่ให้เกิดการเรียนรู้โดยเฉพาะกับคนพิการ สามารถมีโอกาสรับรู้ การศึกษาในสิ่งแวดล้อมของคนปกติ และยังเปิดโอกาส ให้คนพิการ ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อการเรียนรู้ และเพื่อประกอบอาชีพอีกด้วย ดังนั้นจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัย ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาด้านการเรียนการสอน โดยการจัดการศึกษาทางไกล เพื่อให้บริการการศึกษาทั่งถึง โดยเฉพาะกลุ่มผู้ด้อยโอกาส และผู้อยู่ห่างไกล รวมถึงการใช้สื่ออุปกรณ์ อิเล็กทรอนิกส์ทำให้มีการพัฒนาการเรียนรู้อีกรูปแบบหนึ่ง สรุป
การเติบโตของเทคโนโลยีสารสนเทศมีลักษณะเป็นแบบก้าวหน้า เช่น มีการพัฒนาทุกๆ สามปี และพัฒนาการทางความเร็วของคอมพิวเตอร์จะเพิ่มขึ้นได้ประมาณสองเท่า เมื่อเป็นเช่นนี้ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศจึงมี แนวโน้มที่จะก้าวไปได้อีกมาก ความฝันหรือจินตนาการต่างๆ ที่คิดไว้ จะเป็นจริงในอนาคต พัฒนาการเหล่านี้ย่อมมีบทบาทที่สำคัญต่อการศึกษาอย่างมาก องค์กรที่ทำหน้าที่ในการวางแผนการศึกษาของชาติจะต้องให้ความสำคัญกับ การใช้เทคโนโลยีเหล่านี้อย่างเต็มที่ การนำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อมวลมนุษย์จึงเป็นเรื่องสำคัญ อย่างไรก็ตามการลงทุนทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศมีราคาแพง จึงจำเป็นต้องเลือกสรรให้เหมาะสมกับการใช้ประโยชน์ผู้ที่เกี่ยวข้องจึงต้องมีการศึกษา และวางแผนให้เหมาะสมเพื่อก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด และอย่าคิดว่าเทคโนโลยีสารสนเทศนี้เป็นเพียงเครื่องประดับเท่านั้น